วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

หนังตะลุงในอดีต



            หนังตะลุงนั้น คำว่า “หนัง” มาจากการนำหนังวัวหรือหนังควาย มาตัดฉลุเป็นรูป ส่วนคำว่า “ตะลุง” เพี้ยนมาจากมาจากคำว่า “พัทลุง” ความหมายโดยรวมจึงแปลว่า รูปหนังตะลุงที่ทำจากหนังวัวหรือหนังควายซึ่งมีการเล่นหนังตะลุงในพัทลุง


          หนังตะลุงเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของมนุษยชาติ เคยปรากฏแพร่หลายทั้งในแถบยุโรปและเอเชีย เริ่มต้นในแถบยุโรปโดยการจัดให้มีการแสดงหนัง ซึ่งเรียกว่ามหรสพเงา เพื่อการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ในอียิปต์ การบูชาเทพเจ้าในอินเดีย หรือไม่ว่าจะเป็นการสดุดีเชื้อพระวงศ์ในจีน โดยเชื่อว่าหนังตะลุงมีแพร่หลายในอียิปต์มาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล





          หนังใหญ่เป็นต้นกำเนิดแรกเริ่มของหนังตะลุง ได้แบบมาจากประเทศอินเดีย หนังใหญ่ถือเป็นการแสดงในราชสำนักที่มีการเล่นกลางแจ้ง เรื่องที่ใช้เล่นหนังใหญ่จะเน้นเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ใช้เชิดชูกษัตริย์และสรรเสริญพระเจ้าแผ่นดิน เชื่อกันว่าหนังตะลุงเลียนแบบมาจากหนังใหญ่โดยย่อรูปหนังให้เล็กลง และต่อมาหนังตะลุงก็ได้มีการลองเล่นในเนื้อเรื่องอื่นๆ เช่น นิทานชาดกหรือตำนาน




          หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนบทพากย์มาเป็นภาษาท้องถิ่นของแต่ละถิ่น มีการเปลี่ยนเครื่องดนตรีจากพิณพาทย์ ตะโพน มาเป็น ทับ กลอง ฉิ่ง และโหม่ง ซึ่งเป็นดนตรีที่มีอยู่เดิมในภาคใต้






          ในเวลาต่อมา หนังตะลุงก็ได้รับอิทธิพลของหนังชวาเข้ามาผสมผสาน ทำให้เกิดวิวัฒนาการในการทำ “รูปหนัง” รูปหนังใหญ่จะเป็นแผ่นเดียวกันทั้งตัว เคลื่อนไหวอวัยวะไม่ได้ แต่รูปหนังชวาเคลื่อนไหวมือและปากได้
             


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น